1.15.2552

,, วันครู*

ครู หมายถึงผู้อบรมสั่งสอน ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ

ประวัติความเป็นมา วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500
สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. 2488
ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า"คุรุสภา" ซึ่งมีสถานะเป็นนิติบุคคลและ
ให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกัน
ก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นในเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ
จัดสวสัดิการให้แก่ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคี
ของครู ด้วยเหตุนี้ในทุกๆปี คุรุสภาจึงจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทน
ครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆเกี่ยวกับการดำเนิน
งานของคุรุสภา โดยมี คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้
หอประชุม"สามัคคยาจารย์"หอประชุมของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ในระยะหลังจึงมาใช้หอประชุมของคุรุ
สภา ปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและ
ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวปราศัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า "ที่อยากเสนอ
ในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่า
"วันครู"ควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระ
คุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิด
เกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝาก
ที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"
จากแนวความคิดนี้ กอรปกับคว่ทคอดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆที่ล้วน
เรียกร้องให้มี"วันครู"เพื่อให้เป็นการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงาม
ความดีเพื่แประโยชน์ของชาติ และประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้
พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มี "วันครู" เพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป
โดยได้เสนอในหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรม
ระหว่างครู และเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอีนดีระหว่างครูกับประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวัน
ที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคม ของทุกปีเป็น"วันครู"โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราช
บัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2488 เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่ง
การให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้ การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวัน
ที่ 16 มกราคม 2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน
งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้ให้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ
หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ
การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา
ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทใหญ่ดังนี้
1.กิจกรรมทางศาสนา
2.พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
3.กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู สา่วนมากจะเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริง

ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้กำหนดให้จัดพร้อมกันทั่วประเทศ สำหรับส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุ
สภา โดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครูซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วยบุคคลหลาย
อาชีพร่วมกันเป็นผู้จัดสำหรับส่วนภูมิภาคให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้น
เช่นเดียวกันกับส่วนกลางจะรวมกันจัดที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้ รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง(หอ
ประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประธานอำนวยการคุรุสภา
คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการจัดงานวันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 1,000 รูป หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุ
สภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีจุดธูปเทียน
บูชาพระรัตนตรัย ประธานฝ่ายสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายก
รัฐมนตรี เสร็จแล้วพิธีบูชาบูรพาจารย์โดยครู"อาวุโส"นอกประจำการจะเป็นผู้กล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึก
ถึงพระคุณบูรพาจารย์ ดังนี้

ปาเจราจริยา โหนติ คุณุตตรานุสาสกา(วสันตดิลกฉันท์) ประพันธ์ โดยพระวรเวทย์พิสิฐ(วรเวทย์ ศิวะศรียานนท์)
ข้าขอประนมกรกระพุ่ม
อภิวาทนาการ
กราบคุณอดุลคุรุประทาน
หิตเทิดทวีสรร
สิ่งสมอุดมคติประพฤติ
นรยึดประคองธรรม์
ครูชี้วิถีทุษอนันต์
อนุสาสน์ประภาษสอน
ให้เรืองและเปรื่องปริวิชาน
นะตระการสถาพร
ท่านแจ้งแสดงนิติบวร
ดนุยลอุบลสาร
โอบเอื้อและเจือคุณวิจิตร
ทะนุศิษย์นิรันดร์กาล
ไป่เบื่อก็เพื่อดรุณชาญ
ลุฉลาดประสาทสรรพ์
บาปบุญก็สุนทรแถลง
ธุระแจงประจักษ์แจ้งครัน
เพื่อศิษย์สฤษดิ์คติจรัล
มนเทิดผดุงธรรม
ปวงข้าประดานิกรศิษย์
(ษ)ยะคิดระลึกคำ
ด้วยสัตย์สะพัดกมลนำ
อนุสรณ์เผดียงคุณ
โปรดอวยสุพิธพรเอนก
อดิเรกเพราะแรงบุญ
ส่งเสริมเฉลิมพหุลสุน
ทรศิษย์เสมอเทอญ ฯ
ปัญญาวุฒิกเรเตเต ทินโนวาเท นมามิหัง จากนั้นประธานจัดงานวันครู จะเชิญผู้ร่วมประชุมยืนสงบนิ่ง 1 นาที เพื่อระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ครูอาวุโสประจำการนำผู้เข้าร่วมประชุมกล่าวคำปฏิญาณดังนี้
ข้อ 1.ข้าฯจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
ข้อ 2.ข้าฯจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
ข้อ 3.ข้าฯจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
จบแล้วพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา นายกรัฐมนตรีมอบรางวัลครูดีเด่นประจำปี มอบของที่ระลึกให้ครูอาวุโสนอกและในประจำการสุดท้ายกล่าวคำปราศัยและให้โอวาทแก่ครูที่มาประชุม จรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู

1.07.2552

สอบสัมภาษณ์อย่างไรให้ผ่านฉลุย!!

แต่งกายดี มีชัยไปกว่าครึ่ง..
สนามสอบสัมภาษณ์ทุกสนามสอบ เขาจะต้อนรับเฉพาะคนที่แต่งกายเรียบร้อยเท่านั้นครับ.. เรียบร้อยที่นี้ก็คือ เครื่องแบบนักเรียนมีมาแบบไหน ก็ให้แต่งตามนั้นเลย.. อาจารย์ที่มาสัมภาษณ์ในระดับมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ ท่านจะเป็นถึงระดับหัวหน้าภาค หัวหน้าเอก หรือบางคณะเป็นท่านคณบดีมาเองเลยก็มี.. ดังนั้นให้เอาใจเขามาใส่ใจเรา คิดไว้เสมอว่า ท่าจะเอาเด็กที่แต่งกายไม่เรียบร้อยเข้าไปเรียนให้อายคณะอื่น หรือเสียชื่อสถาบันหรือไม่..
มีประสบการณ์หนึ่งที่เกี่ยวกับการแต่งกายที่ พี่ลาเต้ อยากจะเล่าให้น้องๆ ฟัง.. มีน้องนักเรียนหญิงคนหนึ่ง เขารู้สึกกลุ้มใจมากๆ หลังจากที่ไปสอบสัมภาษณ์มา เขาเล่าว่า "วันนั้นได้ใส่ชุดนักเรียนถูกระเบียบ และรองเท้าพละผ้าใบสีขาวไปสอบสัมภาษณ์ โดยเตรียมข้อมูล และตอบคำถามได้เป็นอย่างดีทุกข้อ แต่ก็มาตกม้าตายตอนคณะกรรมการถามว่า..
"เธอใส่รองเท้าอะไรมา.." หลังจากนั้นก็ถูกคณะกรรมการตำหนิว่า หากจะแต่งตัวแบบนี้ไปเรียนคณะที่เกี่ยวกับพลศึกษาดีกว่าไหม" แล้วน้องๆ รู้ไหมครับว่า น้องผู้หญิงคนนี้พอประกาศผลก็ไม่ติดในคณะนั้นนะครับ.. เขาเลยเครียดมากๆ เพราะ 10 นาทีที่เข้าไปสอบสัมภาษณ์ดีหมดทุกอย่าง จนเขาก็มั่นใจว่าผ่านแน่ๆ ประสบการณ์นี้จึงถือเป็นบทเรียน และอุทาหรณ์ที่ พี่ลาเต้ อยากมาเล่าให้ฟังก่อนที่น้องๆ หลายคนจะต้องเจอเหตุการณ์แบบนี้ครับ..
ถามมาก็ตอบไป..อย่ากวน..
ทุกอย่างคือความจริง นี่คือสโลแกนของการสอบสัมภาษณ์ครับ.. เวลาคณะกรรมการท่านถามอะไรมา ห้ามไปลองของเด็ดขาด ท่านถามว่ารู้ไหม หากเรารู้ก็ตอบว่ารู้ หากไม่รู้ ก็ตอบไปว่า "ไม่แน่ใจ" อย่าเผลอหลุดมาว่า "ไม่รู้ ไม่ทราบ ไม่เคยได้ยินมาก่อน" จะทำให้ภาพลักษณ์ของเราขาดการเตรียมตัวทันที..
เมื่อปีก่อนในวันสอบสัมภาษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พี่ลาเต้ ก็มีโอกาสได้ไปทำข่าวที่นั้นด้วย.. ด้วยความอยากรู้ อยากเห็นเลยแว้บไปถามอาจารย์ที่เป็นหัวหน้าคณะกรรมการว่า ท่านมีวิธีในการคัดเลือกเด็กจากการสอบสัมภาษณ์อย่างไร ซึ่งท่านก็ตอบมาน่าสนใจมากๆครับว่า.. "การสอบสัมภาษณ์รับตรง และยากกว่าการสอบสัมภาษณ์แอดมิชชั่น เพราะแอดมิชชั่นหากผ่านข้อเขียนแล้วน้อยมากที่จะโดนคัดออก เพราะคัดมาตามจำนวนอยู่แล้ว แต่หากเป็นรับตรงแล้วหละก็..บางที่ผ่านมา 50 แต่ต้องมาคัดให้เหลือแค่ 10 ซึ่งการแข่งขันจะสูงกว่ามากๆ"
"หากเด็กไม่กวนอาจารย์ ก็จะไม่ให้ตก" นี่เป็นประโยคเด็ดที่อาจารย์ท่านบอกมาครับ.. ท่านยังแอบแย้มมาด้วยว่า บางครั้งอาจารย์อาจจะมีแกล้งนิด แกล้งหน่อยด้วยวาจาให้เราโมโห หากเราควบคุมสติ และอารมณ์ได้ก็จะถือว่าผ่าน ดังนั้นตามสโลแกนเลยครับ.. เข้าไปด้วยความอ่อนน้อม ตอบคำถามด้วยความมั่นใจ และใส่ใจในท่าทีของคณะกรรมการครับ..
มีเหตุการณ์หนึ่งที่อยากจะเล่าให้น้องๆ ฟังเกี่ยวกับการสอบสัมภาษณ์ของ นักเรียนชายของโรงเรียนชื่อดังคนหนึ่งครับ.. ได้ไปสอบสัมภาษณ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะกรรมการสัมภาษณ์ได้เอ่ยคำถามแรกโดยขอดูมือนักเรียนชายคนนั้น.. พร้อมกลับพูดเล่นๆมาว่า "มือสั้นนะ..จะเรียนได้เหรอ.." ด้านนักเรียนชายคนนั้นสวนกลับมาทันทีครับว่า "ถึงผมมือสั้น..ผมก็สามารถชกปากคนที่ดูถูกผมได้ครับ.." เท่านั้นแหละครับ.. ไม่มีการสัมภาษณ์ต่อ และนักเรียนคนนั้นก็ไม่ได้มาเหยียบมหาวิทยาลัยแห่งนั้นอีกเลย..