8.28.2552

,,น้ำหอม*

การเลือกใช้น้ำหอมอย่างเหมาะสม เราควรเลือกกลิ่นหอมที่เข้ากับบุคลิกของตัวเองนับว่าดีที่สุด น้ำหอมแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยระดับความเข้มข้นของกลิ่นหอมดังนี้


โคโลญจน์ หรือ Eau de Cologne เป็นน้ำหอมที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมในปริมาณ 3-5%
ทอยเล็ตต์ หรือ Eau de Toilette เป็นน้ำหอมที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมในปริมาณ 4-8%
เพอร์ฟูม หรือ Eau de Parfum เป็นน้ำหอมที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมในปริมาณ 15-18% ซึ่งจะมีกลิ่นติดทนนานที่สุด

เคล็ดลับในการแต้มน้ำหอม


ให้ป้ายหรือฉีดน้ำหอมในบริเวณที่เป็นจุดชีพจร โดยมากจะเป็นบริเวณข้อมือหรือลำคอ และบางครั้งบริเวณข้อพับที่แขนหรือขาพับก็เป็นที่นิยม ในขณะที่การแตะน้ำหอมบริเวณหลังใบหูนั้นความหอมของน้ำหอมจะไม่ติดอยู่ทนนาน เนื่องจากแอลกอฮอล์ระเหยได้รวดเร็วนั่นเอง
การถูข้อมือที่แต้มน้ำหอม 2 ข้างเข้าด้วยกัน ไม่ได้ช่วยให้ความหอมนั้นทั่วถึง แต่ที่จริงแล้วจะทำให้น้ำหอมมีกลิ่นหอมอ่อนลง
การฉีดสเปรย์น้ำหอมในอากาศแล้วใช้วิธีเดินผ่านนั้น จะช่วยให้กลิ่นหอมกระจายติดตัวเราได้ทั่วดี
พยายามอย่าใช้โลชั่นที่มีกลิ่นหอมก่อนหน้าที่จะใช้น้ำหอมเนื่องจากกลิ่นจะตีกัน
ใช้น้ำหอมมากหน่อยหากคุณเป็นคนผิวแห้ง เนื่องจากผิวมันมีน้ำมันช่วยคงกลิ่นให้ติดอยู่ยาวนาน
ในขณะเดียวกันหากใส่น้ำหอมแล้วต้องอยู่ในที่อากาศเย็นให้เลือกน้ำหอมที่มีกลิ่นแรงกว่าปกติ เนื่องจากความเย็นหรืออุณหภูมิต่ำจะลดกลิ่นหอมของน้ำหอมให้ลดน้อยลงกว่าที่เป็น การฉีดน้ำหอมทันทีหลังจากที่อาบน้ำเสร็จใหม่ๆ จะช่วยทำให้กลิ่นหอมติดทนนานกว่าปกติ

ข้อควรระวังในการใช้น้ำหอม


ต้องระวังเครื่องประดับทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นสร้อยคอ เข็มกลัด เข็มขัด เป็นต้น เนื่องจากแอลกอฮอล์และเคมีบางอย่างที่เป็นองค์ประกอบของน้ำหอมจะมีผลต่อวัตถุดิบบางชนิด
ที่จริงแล้วลักษณะในการใส่น้ำหอมยังมีผลต่อวัตถุดิบบางชนิด อาทิ น้ำมันที่มีผลกับผ้าซาติน หรือแม้แต่ผ้าฝ้ายแบบฟอก การฉีดน้ำหอมใกล้กับเสื้อผ้ามากเกินไป ทำให้แอลกอฮอล์ปริมาณเข้มข้น ติดอยู่กับเสื้อผ้ามาก
ดังนั้น การฉีดน้ำหอมควรทำห่างจากตัวอย่างน้อย 30 เซนติเมตร เพื่อไม่ให้น้ำหอมทิ้งจุดด่างหรือรอยเปียกของน้ำมันเอาไว้บนเสื้อผ้า ทางที่ดีที่สุดอย่าฉีดโดยตรงลงบนเสื้อผ้าจะดีกว่า ส่วนเครื่องประดับที่มักจะเกิดปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์ที่อยู่ในน้ำหอมนั้น มักจะเป็นโลหะผสมพวกโรเดียม
ไม่เพียงเท่านั้นเครื่องเพชรพลอย อัญมณีหรือแม้แต่ไข่มุกก็ตามนั้นมีส่วนหมองคล้ำจากการได้รับละอองสเปรย์ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์อีกด้วย

8.09.2552

วันแม่แห่งชาติ*

วันแม่แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 12 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยริเริ่มเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2519 โดยคณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จนถึงปัจจุบัน
สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่คือ ดอก
มะลิ ซึ่งมีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย

ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติในประเทศไทย

งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน
ต่อมา
สมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา